เทคโนโลยีอวกาศ

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

โครงการไพโอเนียร์ วีนัส
Pioneer Venus
พ.ศ.2521-2535
 

การสำรวจดาวศุกร์ 


 

 

 

 

ยานไพโอเนียร์ วีนัส 1 (พ.ศ.2521)
หรือรู้จักกันในชื่อ
ไพโอเนียร์ 12 ถูกส่งออกไปเมื่อ 20 พฤษภาคม 2521 เป็นยานอวกาศลำแรก ที่โคจรสำรวจทำแผนที่พื้นผิวดาวศุกร์ด้วยระบบเรดาร์ ตรวจพบว่ามีฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ในบรรยากาศ ของดาวศุกร์ แต่ไม่พบสนามแม่เหล็ก เครื่องมือส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติงานได้ดีจนสัญญาณขาด หายไปเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2535 สันนิษฐานว่ายานถูกเผาไหม้สลายไปเมื่อเข้าสู่บรรยากาศ ดาวศุกร์  

ยานไพโอเนียร์ วีนัส 2 (พ.ศ.2521)
ยานไพโอเนียร์ วีนัส 2 หรือเรียกกันว่า
ไพโอเนียร์ 13 ประกอบด้วยยานหลายส่วน คือ ยานโดยสาร
ซึ่งบรรทุกยานสำรวจบรรยากาศลำใหญ่ 1 ลำ และยานลำลูกเล็ก ๆ อีก 3 ลำ เพื่อแยกลงสำรวจ บรรยากาศของดาวศุกร์ ยานไพโอเนียร์ วีนัส 2 ปล่อยยานลำลูกทั้ง 4 ลำ ฝ่าบรรยากาศหนาทึบ ของดาวศุกร์ลงไปกับร่มชูชีพ ยานลำใหญ่ถูกเผาไหม้สลายไปในบรรยากาศระดับสูง ขณะที่ยานลำลูกลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์ ส่งข้อมูลกลับมายังโลกนานประมาณ 1 ชั่วโมง
 

 

 โครงการเวเนรา
Venera,สหภาพโซเวียตรัสเซีย
พ.ศ. 2510-2526

 

  

 

ยานเวเนรา 15

 

 ยานแมกเจลแลนถูกส่งออกไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2532 โคจรรอบดาวศุกร์นาน 4 ปี ระหว่าง พ.ศ.2533-2537 ในแนวขั้วเหนือใต้เป็นรูปวงรี ยานถ่ายภาพด้วยระบบเรดาร์ทำให้ได้ข้อมูล ทำแผนที่ดาวศุกร์ได้ถึง 99 %

ยานแมกเจลแลนเริ่มทดสอบเทคนิคการเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเคราะห์ โดยใช้แรงเสียดทานของ บรรยากาศค่อย ๆ ลดระดับการโคจรรอบดาวเคราะห์ เรียกวิธีการนี้ว่า
aerobraking ในที่สุด ยานถูกกำหนดให้ตกเข้าสู่บรรยากาศดาวศุกร์ เพื่อสำรวจข้อมูลของบรรยากาศก่อนที่ยานจะถูก เผาไหม้สลายไป  

เป้าหมายโครงการ
เพื่อศึกษาสำรวจดาวศุกร์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ลักษณะทางธรณีวิทยา ใจกลางดาวศุกร์ ทำแผนที่ พื้นผิว สนามความโน้มถ่วง อุณหภูมิ ความกดบรรยากาศ สภาพการสึกกร่อนบนดาวศุกร์ องค์ประกอบและกระบวนการทางเคมีบนดาวศุกร์ เป็นต้น
 

 

 

การสำรวจดวงจันทร์

 โครงการลูนา
Luna1-24
สหภาพโซเวียตรัสเซีย
ระหว่าง พ.ศ. 2502-2519

 

ยานลูนา 2 

 

เป้าหมายโครงการ
ยานอวกาศลูนา 1 - 24 เป็นยานอวกาศชุดแรกที่สหภาพโซเวียตรัสเซีย ส่งไปสำรวจดวงจันทร์ และ พัฒนาขึ้นมาโดยลำดับ ขณะที่หลายลำประสบความล้มเหลวแต่อีกหลายลำทำงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี
ลูนา 1 (พ.ศ.2502) ยานอวกาศลำแรกที่โคจรเฉียดดวงจันทร์ และค้นพบลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ ลูนา 3 (พ.ศ.2502) โคจรรอบดวงจันทร์ ถ่ายภาพแรกของดวงจันทร์ฟากตรงข้ามกับโลก
ลูนา 9 (พ.ศ.2509) ยานลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์และส่งภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ กลับสู่โลกเป็นครั้งแรก ลูนา 16
(พ.ศ.2513) ลงสู่พื้นผิวบริเวณที่ราบต่ำ นำหินดวงจันทร์ 100 กรัม กลับมายังโลก
ลูนา 17
(พ.ศ.2513-2514) ยานลงดวงจันทร์พร้อมรถยนต์อัตโนมัติลูโนคอด 1 (Lunokhod1)
ลูนา 20
(พ.ศ.2515) ยานลงสู่พื้นผิวบริเวณพื้นที่สูง นำก้อนหินดวงจันทร์กลับสู่โลก 30 กรัม
ลูนา 21
(พ.ศ.2516) ยานลงดวงจันทร์พร้อมรถยนต์อัตโนมัติลูโนคอด 2
ลูนา 24 (พ.ศ.2519) ยานลงดวงจันทร์บริเวณที่ราบต่ำ นำหินดวงจันทร์จำนวน 170 กรัม กลับสู่โลก

 

 

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 77,763 Today: 4 PageView/Month: 215

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...